“อุม โมฮัมเหม็ด” (Umm Mohammed) คุณแม่ลูกสอง ชาวอิรัก วัย 34 ปีกำลังเลือกซื้อยาสมุนไพร หลังเภสัชกรแจ้งว่าค่ายาโรคผิวหนังของเธออยู่ที่ 8 แสนดีนาร์อิรัก หรือกว่า 21,000 บาท ทำให้เธอตัดสินใจหันมาพึ่งการรักษาแบบทางเลือกแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบันถึง 8 เท่า แม้ว่าบริการทางการแพทย์ของรัฐจะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่การขาดแคลนยา เวชภัณฑ์และบริการที่เพียงพอ หมายความว่า ประชาชนมักจะต้องหันไปพึ่งการรักษาในภาคเอกชนที่มีราคาสูงแทน
รัสเซียเตือนสหรัฐฯ อย่าติดอาวุธนิวเคลียร์ให้โปแลนด์
สื่อเผย แม่ขูดรีดหนักทำ "แมนยู" เลิกสน "ราบิโอต์"
ด็อกเตอร์ไฮเดอร์ ซาบาห์ (Haider Sabah) หัวหน้าศูนย์ยาสมุนไพรแห่งชาติของอิรัก เปิดเผยว่า วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่ย่ำแย่ทำให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ไม่สามารถแบกรับค่ายาได้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจร้านสมุนไพรในกรุงแบกแดดของอิรักเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก โดยสถานประกอบการที่มีใบอนุญาตขายยาสมุนไพรอยู่ที่ 460 แห่ง จาก 350 แห่งในปี 2020 ขณะที่มาตรฐานของแต่ละร้านก็แตกต่างกันอย่างมาก ไล่ตั้งแต่ร้านที่จำหน่ายยาสมุนไพรในบรรจุภัณฑ์สุดประณีต ไปจนถึง ร้านที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ผสมยาสมุนไพรให้ลูกค้าดูต่อหน้า
ด้าน โมฮัมเหม็ด ศุบฮี (Mohammed Sobhi) เจ้าของร้านขายยาสมุนไพรรายหนึ่ง เปิดเผยว่า รับช่วงต่อร้านนี้มาจากพี่ชายตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อย่างไรก็ตาม แพทย์ชาวอิรักรายหนึ่ง ออกโรงเตือนว่า การแทนที่ใบสั่งยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพร บางครั้ง อาจเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้ หากไม่ได้รับยาที่เหมาะสมกับอาการ เช่น คนไข้รายหนึ่งที่มีภาวะเลือดเป็นกรดจากโรคเบาหวานหลังรักษาด้วยยาสมุนไพร และต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู นอกจากนี้ยังทิ้งท้ายด้วยว่า หัวใจของปัญหาคือความล้มเหลวของอิรักในการสร้างระบบการแพทย์ที่เพียงพอ หรือ กรอบการกำกับดูแลสำหรับผู้ให้บริการด้านสุขภาพของประเทศ ทั้งนี้ ระบบสาธารณสุขของอิรัก ซึ่งในอดีต เคยเป็นหนึ่งในระบบการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดในตะวันออกกลาง เผชิญภาวะเสื่อมโทรมลงด้วยปัญหาความขัดแย้ง การคว่ำบาตรจากนานาชาติ การรุกรานของสหรัฐฯ ในปี 2003 และการทุจริตคอร์รัปชันเป็นวงกว้าง